คำราชาศัพท์
คำสุภาพ
ถ้อยคำต่างๆที่เราพูดจากันโดยทั่วไปนั้น บางคำก็มิควรจะกราบบังคมทูลบางคำก็ควร ถ้าหากคำใดมิควรเราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเสียให้เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงถ้อยคำต่างๆให้เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงถ้อยคำต่างๆให้เหมาะสมนี่เราเรียกว่า “คำสุภาพ” คำสุภาพเป็นส่วนหนึ่งของราชาศัพท์ ซึ่งมีลักษณะที่ควรสังเกตดังต่อไปนี้
๑. ไม่ควรใช้ถ้อยคำอุทานที่ไม่สุภาพ เช่น โว้ย เว้ย หรือคำสาบานที่หยาบคาย เช่น ให้ตายห่า ให้ฉิบหาย หรือพูดกระชากเสียง เช่น เปล่า ไม่ใช่ เป็นต้น
๒. ไม่ควรใช้คำที่ถือว่าหยาบคายคือ
ก. คำว่า “ไอ้” ควรใช้”สิ่ง” แทนเช่น ไอ้นี่ได้นั้น ควรเป็นสิ่งนี้ สิ่งนั้นหรือตัดคำว่า”ไอ้” ทิ้งเสียเลย เช่น ปลาไอ้บ้า เป็นปลาบ้า
ข. คำว่า “อี” ควรใช้คำว่า”นาง” เช่น อีเห็น เป็นนางเห็น อีเลิ้ง เป็นนางเลิ้ง
ค. คำว่า “ขี้” ควรใช้คำว่า “ อุจจาระ” หรือ “คูถ” แทนหรือบางที่ตัดออกเสียเลย ก็ได้ เช่น ดอกขี้เหล็ก เป็นดอกเหล็ก หรือเปลี่ยนเสียก็ได้ เช่น ขี้มูกเป็นน้ำมูก ขนมขี้หนู เป็นขนมทราย
ง. คำว่า “เยียว” ควรใช้คำว่า “ปัสสาวะ” หรือ “มูตร” แทน
๓.ไม่ควรใช้คำผวน หรือใช้คำใดก็ตามเมื่อผวนหางเสียงหรือท้ายคำกลับมาไว้ข้างหน้าแล้ว คำนั้นจะเป็นคำที่ไม่สุภาพทันที เช่น คุณหมอจ๋า ผวนเป็นคุณหมาจ๋อ เป็นต้น
ในเรือง “ คำหยาบและคำสุภาพ” นั้น ม.ล. ปีย์ มาลากุล ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ การใช้ถ้อยคำและราชาศัพท์” ว่าเมื่อกล่าวถึง “คำหยาบ” และคำ “สุภาพ” นั้นความหมายที่แท้จริงของ”คำหยาบ” หาใช่หมายถึงเฉพาะคำโลนหรือคำที่ใช้ในการกล่าวผรุสวาจาเท่านั้นไม่ ที่ถูกแล้วน่าจะเรียกคำสามัญ และคำวิสามัญ มากกว่า เช่น คำว่ามือ ตีน กิน เดิน นอน ก็ไม่น่าจะเป็นคำหยาบอะไรแต่คำเหล่านี้ไปใช้พูดกับคนที่อาวุโสกว่าคำเหล่านั้นถือเป็นคำหยาบ ต้องเปลียนใช้คำอื่น เช่น จะพูดว่า “ตีน” ก็ต้องเปลี่ยนเป็น “เท้า” เป็นต้น